เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านที่ดูน่าเบื่อ ไร้ชีวิตชีวาให้พลันสดใสทันตาและสามารถสร้างความประทับใจให้กับเราและคนในบ้านกันได้บ้าง เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านที่ดูน่าเบื่อ ไร้ชีวิตชีวาให้พลันสดใสทันตาและสามารถสร้างความประทับใจให้กับเราและคนในบ้านกันได้บ้าง ในวันนี้ Fit-in Home นำเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้บ้านดูสดใสโดยใช้หลักการง่ายแสนง่ายจากทฤษฎีสีสุดเบสิคต่าง ๆ มาให้ผู้อ่านทุกคนได้ลองนำไปใช้กัน วงล้อสี (Colour Wheel)วงล้อสี ( Color Wheel ) คือ เครื่องมือในการจัดเรียงสีที่มองเห็นด้วยตามนุษย์ ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1666 โดย ไอแซก นิวตัน ที่ได้ทำการสร้างแผนที่สเปกตรัมสีลงบนวงกลม นอกจากนี้วงล้อสียังเป็นพื้นฐานของทฤษฎีสี เนื่องจากมันสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสีต่าง ๆ ได้ จุดเริ่มต้นของวงล้อสีเดิมทีแม่สีจะประกอบด้วย 3 สีหลักได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน หรือเรียกว่า RYB และเมื่อมีการรวมสีต่าง ๆ เข้าด้วยกันก็จะเกิดวงล้อสี RGB ซึ่งเป็นสีที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานออนไลน์ และจะแสดงผ่านแสง ตัวอย่างเช่น บนตอมพิวเตอร์ หน้าจอทีวี การผสมแต่ละสีของวงล้อสีการเกิดสีใหม่ขึ้นมานั้นจะเริ่มด้วยการผสมสีแต่ละคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบวงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้นคือ สีขั้นที่ 1 (Primary Colours) คือ แม่สี 3 สี ได้แก่ สีแดง เหลือง และน้ำเงินสีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 3 สี ได้แก่ สีม่วง สีเขียว และสีส้มสีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี ได้แก่ สีม่วงแดงเข้ม สีแดงสด สีเหลืองอำพัน สีโศก สีเขียวหัวเป็ด สีม่วงน้ำเงิน 10 ทฤษฎีสีสุดเบสิค ให้การเลือกสีบ้านเป็นเรื่องง่าย 1. เลือกสีที่ใช่เริ่มต้นโดยการเลือกใช้สีที่ต้องการ โดยใช้หลักการทางจิตวิทยาของสีว่าเราต้องการจะใช้สีแบบใดในการทำให้พื้นที่มีบรรยากาศในแบบที่คาดหวังไว้ 2. เลือกกลุ่มสีที่จะใช้ในพื้นที่กว้างของบ้านหลังจากเลือกสีที่ต้องการแล้ว ให้มองถึงความเหมาะสมของโครงสร้างและรูปแบบของพื้นที่บริเวณที่เราต้องการลงสีในพื้นที่กว้าง เช่น เพดาน หรือ ฝาผนัง โดยอาจใช้หลักการวงล้อสี (Colour Wheel) เพื่อเปรียบเทียบโทนสีที่ใกล้เคียง และแต่งเติมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ใช้โทนสีใกล้เคียงลงไป ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น เช่นหากเราต้องการใช้สีม่วงในการเป็นสีหลักในพื้นที่กว้าง อาจใช้สีชมพู แดงอ่อน สำหรับเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งในพื้นที่บริเวณดังกล่าว 3. เข้มไปอ่อนในแนวดิ่งนักออกแบบภายในหลายคนเลือกใช้หลักวิธี เข้มไปอ่อน หรือ Dark to Light Method ในลักษณะพื้นที่แนวตรงหรือแนวดิ่งของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ ของห้อง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นวิธีการใช้สีที่เข้มหรือมืดจากฝั่งพื้น ไล่เรียงขึ้นไปถึงสีที่มีสมดุลเป็นกลางจนไปถึงด้านบนของฝาผนังที่มีสีอ่อนหรือสว่าง โดยประโยชน์ของหลักวิธีการนี้คือจะสร้างภาพหลอกสายตาให้พื้นที่บริเวณนั้น ๆ ดูกว้างขึ้น 4. ใช้ทฤษฎีวงล้อสี (Colour Wheel)ทฤษฏีวงล้อสีนี้เองเปรียบได้เป็นเพื่อนรักของนักออกแบบภายในเลยทีเดียว โดยวงล้อสีนี้มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้สะดวก ง่ายดาย รวดเร็วมากขึ้น ว่ากลุ่มสีใดใช้ด้วยกันแล้วจะเหมาะสม และสมบูรณ์มากที่สุด 5. ไม่ต้องกลัวที่จะใช้สีเทาสีเทา (Grey) ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสีจืด (Neutral) ที่สบายตาและถูกใช้งานมากที่สุดในงานออกแบบภายใน เนื่องจากสีเทามีคุณสมบัติที่ดีในการปรับใช้ให้เข้ากับการออกแบบภายในได้หลากหลายสไตล์ เช่น Modern, Victorian, Plush (Warm Minimal), Minimal, Simple และอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งสามารถนำสีเทาเข้าไปใช้ร่วมกันกับสีที่โดดเด่นต่าง ๆ ได้อีกด้วย 6. กฏ 60-30-10นักออกแบบภายในที่มีประสบการณ์หลายคนจะรู้จักและชำนาญการจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่แบบ 60-30-10 ในส่วนของ 60 แรก คือสีบนพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งคือผนังบ้าน ส่วน 30 คือสีรอง โดยบ่อยครั้งทั่วไปแล้วจะใช้กับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นกลาง เช่น โซฟา มานั่ง หรือผ้าคลุมโซฟา และ ส่วนสุดท้าย ส่วนที่ 10 คือสีส่วนที่จะใช้สำหรับของประดับตกแต่ง หลักกวิธีการจัดแบ่งสัดส่วน 60-30-10 นี้ จะช่วยทำให้บริเวณพื้นที่นั้น ๆ มีสัดส่วนในการมองเห็นที่ดีและมีความสมดุล 7. สีโทนอุ่นและสีโทนเย็นสำหรับนักออกแบบภายในแล้วนั้น ไม่มีทางเลยที่จะมองข้ามสีที่มีความสมดุลที่ดีและสร้างความกลมกลืนกับพื้นที่ได้อย่างสีที่มีความจืด เช่นสีเทา สีครีม ซึ่งเราจะเรียกสีเหล่านี้ว่าสีนูทรัล (Neutral Colour) สำหรับจุดเด่นต่าง ๆ ของสีนูทรัลนั้น เราสามารถพลิกแพลงประยุกต์การใช้งานโดยการจับคู่กับสีโทนอุ่นหรือโทนเย็นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่น เราสามารถใช้สีนูทรัลมาจับเข้าคู่กับสีฟ้าอ่อน หรือ ส้มอ่อน เป็นต้น 8. โมโนโครมาทิค (Monochromatic) สำหรับพื้นที่เล็กที่ถึงแม้จะมีขนาดที่แคบ ไม่กว้างนัก แต่ก็มีประสิทธิภาพที่่จะเพิ่มลูกเล่นให้กับพื้นที่นั้น ๆ ให้น่าสนใจมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ห้องน้ำ หรือ ห้องอ่านหนังสือเล็ก ๆ และเลือกใช้สีใดสีหนึ่งเพื่อเป็นการไล่เรียงเฉดสีเข้มอ่อนในพื้นที่บริเวณ 9. ใช้แรงบันดาลใจจากสไตล์ส่วนตัวของคนอื่นสิ่งที่เป็นความแตกต่างของเราอาจเป็นแรงบันดาลใจของผู้อื่นได้ ในทางกลับกัน เราสามารถสำรวจสิ่งที่น่าสนใจจากผู้อื่น นำมาเป็นแรงบันดาลใจของเราได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์หรือการประดับของตกแต่ง การเรียนรู้จากผู้อื่นจะช่วยทำให้เราได้มองเห็นส่วนผสมของสีที่น่าสนใจและเข้าใจถึงการสื่อสารของสีได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบสไตล์ส่วนตัวตั้งแต่แนว Modern Pop ไปจนถึง Victorian ที่ดูหรูหรา ร่ำรวย อาจนำสไตล์เหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการจัดการตกแต่งห้องรับประทานอาหารหรือห้องนั่งเล่นของเราได้ 10. เลือกใช้สีจากความรู้สึก นักออกแบบภายในหลายต่อหลายคนเลือกนำสีมาใช้โดยนำความรู้สึกเป็นตัวหลักในการตัดสินใจ อย่างที่ทราบกันดี สีที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ โดยจะขับเคลื่อนให้พื้นที่มีบรรยากาศที่มีอารมณ์และอรรถรสตามสิ่งที่สีสื่อสารออกมา ยกตัวอย่างเช่น สีม่วงที่มีโทนเข้มนั้น สื่อถึงความร่ำรวย ความมีฐานะ ชาติตระกูล ในทางกลับกันที่ม่วงที่มีโทนอ่อนนั้น สื่อถึงความสงบ ทั้งนี้ สีมีความสามารถมากมายในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้กลายเป็นบริเวณที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไปมากมายตามความต้องการของเราได้ และทฤษฎีสีต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญและมีประโยชน์มากที่จะทำให้เราเข้าใจถึงการที่จะใช้งานสีต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ขึ้น กับบ้านหรือภายในบ้านของเรา ที่อย่างน้อย อาจทำให้บ้านที่เคยให้ความรู้สึกที่น่าเบื่อกลายเป็นน่าอยู่และน่าสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งเราและคนในบ้านต่างก็ต้องมีความสุขและความประทับใจไม่มากก็น้อย
เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านที่ดูน่าเบื่อ ไร้ชีวิตชีวาให้พลันสดใสทันตาและสามารถสร้างความประทับใจให้กับเราและคนในบ้านกันได้บ้าง เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านที่ดูน่าเบื่อ ไร้ชีวิตชีวาให้พลันสดใสทันตาและสามารถสร้างความประทับใจให้กับเราและคนในบ้านกันได้บ้าง ในวันนี้ Fit-in Home นำเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้บ้านดูสดใสโดยใช้หลักการง่ายแสนง่ายจากทฤษฎีสีสุดเบสิคต่าง ๆ มาให้ผู้อ่านทุกคนได้ลองนำไปใช้กัน
วงล้อสี (Colour Wheel)
วงล้อสี ( Color Wheel ) คือ เครื่องมือในการจัดเรียงสีที่มองเห็นด้วยตามนุษย์ ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1666 โดย ไอแซก นิวตัน ที่ได้ทำการสร้างแผนที่สเปกตรัมสีลงบนวงกลม นอกจากนี้วงล้อสียังเป็นพื้นฐานของทฤษฎีสี เนื่องจากมันสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสีต่าง ๆ ได้
จุดเริ่มต้นของวงล้อสี
เดิมทีแม่สีจะประกอบด้วย 3 สีหลักได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน หรือเรียกว่า RYB และเมื่อมีการรวมสีต่าง ๆ เข้าด้วยกันก็จะเกิดวงล้อสี RGB ซึ่งเป็นสีที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานออนไลน์ และจะแสดงผ่านแสง ตัวอย่างเช่น บนตอมพิวเตอร์ หน้าจอทีวี
การผสมแต่ละสีของวงล้อสี
การเกิดสีใหม่ขึ้นมานั้นจะเริ่มด้วยการผสมสีแต่ละคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบวงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้นคือ
สีขั้นที่ 1 (Primary Colours) คือ แม่สี 3 สี ได้แก่ สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 3 สี ได้แก่ สีม่วง สีเขียว และสีส้ม
สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี ได้แก่ สีม่วงแดงเข้ม สีแดงสด สีเหลืองอำพัน สีโศก สีเขียวหัวเป็ด สีม่วงน้ำเงิน
10 ทฤษฎีสีสุดเบสิค ให้การเลือกสีบ้านเป็นเรื่องง่าย
1. เลือกสีที่ใช่
เริ่มต้นโดยการเลือกใช้สีที่ต้องการ โดยใช้หลักการทางจิตวิทยาของสีว่าเราต้องการจะใช้สีแบบใดในการทำให้พื้นที่มีบรรยากาศในแบบที่คาดหวังไว้
2. เลือกกลุ่มสีที่จะใช้ในพื้นที่กว้างของบ้าน
หลังจากเลือกสีที่ต้องการแล้ว ให้มองถึงความเหมาะสมของโครงสร้างและรูปแบบของพื้นที่บริเวณที่เราต้องการลงสีในพื้นที่กว้าง เช่น เพดาน หรือ ฝาผนัง โดยอาจใช้หลักการวงล้อสี (Colour Wheel) เพื่อเปรียบเทียบโทนสีที่ใกล้เคียง และแต่งเติมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ใช้โทนสีใกล้เคียงลงไป
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น เช่นหากเราต้องการใช้สีม่วงในการเป็นสีหลักในพื้นที่กว้าง อาจใช้สีชมพู แดงอ่อน สำหรับเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
3. เข้มไปอ่อนในแนวดิ่ง
นักออกแบบภายในหลายคนเลือกใช้หลักวิธี เข้มไปอ่อน หรือ Dark to Light Method ในลักษณะพื้นที่แนวตรงหรือแนวดิ่งของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ ของห้อง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นวิธีการใช้สีที่เข้มหรือมืดจากฝั่งพื้น ไล่เรียงขึ้นไปถึงสีที่มีสมดุลเป็นกลางจนไปถึงด้านบนของฝาผนังที่มีสีอ่อนหรือสว่าง โดยประโยชน์ของหลักวิธีการนี้คือจะสร้างภาพหลอกสายตาให้พื้นที่บริเวณนั้น ๆ ดูกว้างขึ้น
4. ใช้ทฤษฎีวงล้อสี (Colour Wheel)
ทฤษฏีวงล้อสีนี้เองเปรียบได้เป็นเพื่อนรักของนักออกแบบภายในเลยทีเดียว โดยวงล้อสีนี้มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้สะดวก ง่ายดาย รวดเร็วมากขึ้น ว่ากลุ่มสีใดใช้ด้วยกันแล้วจะเหมาะสม และสมบูรณ์มากที่สุด
5. ไม่ต้องกลัวที่จะใช้สีเทา
สีเทา (Grey) ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสีจืด (Neutral) ที่สบายตาและถูกใช้งานมากที่สุดในงานออกแบบภายใน เนื่องจากสีเทามีคุณสมบัติที่ดีในการปรับใช้ให้เข้ากับการออกแบบภายในได้หลากหลายสไตล์ เช่น Modern, Victorian, Plush (Warm Minimal), Minimal, Simple และอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งสามารถนำสีเทาเข้าไปใช้ร่วมกันกับสีที่โดดเด่นต่าง ๆ ได้อีกด้วย
6. กฏ 60-30-10
นักออกแบบภายในที่มีประสบการณ์หลายคนจะรู้จักและชำนาญการจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่แบบ 60-30-10 ในส่วนของ 60 แรก คือสีบนพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งคือผนังบ้าน ส่วน 30 คือสีรอง โดยบ่อยครั้งทั่วไปแล้วจะใช้กับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นกลาง เช่น โซฟา มานั่ง หรือผ้าคลุมโซฟา และ ส่วนสุดท้าย ส่วนที่ 10 คือสีส่วนที่จะใช้สำหรับของประดับตกแต่ง หลักกวิธีการจัดแบ่งสัดส่วน 60-30-10 นี้ จะช่วยทำให้บริเวณพื้นที่นั้น ๆ มีสัดส่วนในการมองเห็นที่ดีและมีความสมดุล
7. สีโทนอุ่นและสีโทนเย็น
สำหรับนักออกแบบภายในแล้วนั้น ไม่มีทางเลยที่จะมองข้ามสีที่มีความสมดุลที่ดีและสร้างความกลมกลืนกับพื้นที่ได้อย่างสีที่มีความจืด เช่นสีเทา สีครีม ซึ่งเราจะเรียกสีเหล่านี้ว่าสีนูทรัล (Neutral Colour) สำหรับจุดเด่นต่าง ๆ ของสีนูทรัลนั้น เราสามารถพลิกแพลงประยุกต์การใช้งานโดยการจับคู่กับสีโทนอุ่นหรือโทนเย็นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่น เราสามารถใช้สีนูทรัลมาจับเข้าคู่กับสีฟ้าอ่อน หรือ ส้มอ่อน เป็นต้น
8. โมโนโครมาทิค (Monochromatic)
สำหรับพื้นที่เล็กที่ถึงแม้จะมีขนาดที่แคบ ไม่กว้างนัก แต่ก็มีประสิทธิภาพที่่จะเพิ่มลูกเล่นให้กับพื้นที่นั้น ๆ ให้น่าสนใจมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ห้องน้ำ หรือ ห้องอ่านหนังสือเล็ก ๆ และเลือกใช้สีใดสีหนึ่งเพื่อเป็นการไล่เรียงเฉดสีเข้มอ่อนในพื้นที่บริเวณ
9. ใช้แรงบันดาลใจจากสไตล์ส่วนตัวของคนอื่น
สิ่งที่เป็นความแตกต่างของเราอาจเป็นแรงบันดาลใจของผู้อื่นได้ ในทางกลับกัน เราสามารถสำรวจสิ่งที่น่าสนใจจากผู้อื่น นำมาเป็นแรงบันดาลใจของเราได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์หรือการประดับของตกแต่ง การเรียนรู้จากผู้อื่นจะช่วยทำให้เราได้มองเห็นส่วนผสมของสีที่น่าสนใจและเข้าใจถึงการสื่อสารของสีได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบสไตล์ส่วนตัวตั้งแต่แนว Modern Pop ไปจนถึง Victorian ที่ดูหรูหรา ร่ำรวย อาจนำสไตล์เหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการจัดการตกแต่งห้องรับประทานอาหารหรือห้องนั่งเล่นของเราได้
10. เลือกใช้สีจากความรู้สึก
นักออกแบบภายในหลายต่อหลายคนเลือกนำสีมาใช้โดยนำความรู้สึกเป็นตัวหลักในการตัดสินใจ อย่างที่ทราบกันดี สีที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ โดยจะขับเคลื่อนให้พื้นที่มีบรรยากาศที่มีอารมณ์และอรรถรสตามสิ่งที่สีสื่อสารออกมา ยกตัวอย่างเช่น สีม่วงที่มีโทนเข้มนั้น สื่อถึงความร่ำรวย ความมีฐานะ ชาติตระกูล ในทางกลับกันที่ม่วงที่มีโทนอ่อนนั้น สื่อถึงความสงบ
ทั้งนี้ สีมีความสามารถมากมายในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้กลายเป็นบริเวณที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไปมากมายตามความต้องการของเราได้ และทฤษฎีสีต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญและมีประโยชน์มากที่จะทำให้เราเข้าใจถึงการที่จะใช้งานสีต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ขึ้น กับบ้านหรือภายในบ้านของเรา ที่อย่างน้อย อาจทำให้บ้านที่เคยให้ความรู้สึกที่น่าเบื่อกลายเป็นน่าอยู่และน่าสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งเราและคนในบ้านต่างก็ต้องมีความสุขและความประทับใจไม่มากก็น้อย
FIT-IN HOME
ศูนย์รวมอุปกรณ์ FITTING ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ ราคาย่อมเยา พร้อมให้บริการด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ รับประกันสินค้าตลอดอายุการใช้งาน